แหล่งทุนวิจัย
การตรวจสอบวารสารวิชาการที่อยู่ใน Beall’s list of predatory publishers
Beall’s list คือรายชื่อสำนักพิมพ์ (publishers) และรายชื่อวารสาร (Standalone journal) ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของบทความไม่ได้มาตรฐาน โดยส่วนใหญ่วารสารดังกล่าวเป็นประเภท open access ที่ต้องเสียค่า page charge และวารสารดังกล่าวจะมีค่า journal impact factor สูง ซึ่งปัจจุบันวารสารที่อยู่ใน Beall’s list มีมากกว่า 1,000 ฉบับ
การตรวจสอบรายชื่อวารสารทำได้ดังนี้
เกณฑ์การกำหนดน้ำหนักบทความที่ตีพิมพ์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
1. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
(1) วารสารวิชาการนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Institute for Scientific Information (ISI) ให้ค่าน้ำหนักเท่ากับ 1
(2) วารสารวิชาการนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลของ ISI และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับ การส่งเสริมและ พัฒนางานวิจัยของ สกอ. ให้ค่าน้ำหนักเท่ากับ 3/4
(3) วารสารวิชาการระดับชาติที่ผ่านเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. ให้ค่าน้ำหนักเท่ากับ 1/2
(4) วารสารวิชาการระดับชาติหากไม่อยู่ในเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. จะต้องเป็นวารสารของสถาบันขึ้นไป และอยู่ในรายชื่อวารสารระดับชาติที่ สกว. รับรองด้วย จึงให้ค่าน้ำหนักเท่ากับ 1/4
2. รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (proceedings) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
(1) การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (international conference) ที่มี proceedings ตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์ (full papers) ให้ค่าน้ำหนักเท่ากับ 1/3
(2) การประชุมวิชาการระดับชาติ (national conference) ที่จัดร่วมกันโดยสมาคม/ สถาบันที่เป็นนิติบุคคลมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป ต้องเป็นรายงานการประชุมที่เป็นรูปเล่มและเผยแพร่หลังการประชุม โดยงานที่พิมพ์ต้องเป็นผลงานฉบับสมบูรณ์ (full paper) ให้ค่าน้ำหนักเท่ากับ 1/6
ระเบียบ/ ประกาศ
การสืบค้นงานวิจัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง