วันวิสาขบูชา “อยู่บ้าน สร้างบุญ” ตามแนววิถีใหม่
ด้วยวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ตรงกับวันวิสาขบูชา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เชิญชวนนักศึกษาและคณาจารย์ในคณะร่วม “อยู่บ้าน สร้างบุญ” เรียนรู้ความสำคัญของวันวิสาขบูชา และร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาตามแนววิถีใหม่ (New Normal) ร่วมเวียนเทียนออนไลน์ผ่าน www.เวียนเทียนออนไลน์.com โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม นำโดย ดร. พุฒิธร จิรายุส คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและคณาจารย์ในคณะ พร้อมเชิญชวนนักศึกษาส่งภาพเวียนเทียนออนไลน์เข้ามา ร่วม “อยู่บ้าน สร้างบุญ” กันในวันวิสาขบูชา
เกร็ดความรู้
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีไหนมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน 7 เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกันคือเป็นวัน ประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเหตุการณ์ต่างๆ นี้ได้เกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ต่างปีกัน)
วิสาขบูชา ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
พุทธประวัติเหตุการณ์ที่เกิดในวันวิสาขบูชา
พระนางสิริมหามายาพระมเหสีของพระเจ้าพระเจ้าสุทโธทนะศากยราชา ทรงพระครรภ์ได้ 10 เดือน
ก็มีความประสงค์อยากจะ กลับไปประสูติพระราชบุตรที่บ้านเกิดของพระองค์ยังเมืองเทวทหะแต่ระหว่าง
ทางเกิดเจ็บพระครรภ์ ผู้ตามเสด็จจึงจัดที่พักใต้ร่มไม้ สาละถวาย พระนางสิริมหามายาจึงประสูติโอรส ณ ใต้ร่มไม้สาละ โดยที่พระหัตถ์จับกิ่งสาละประทับยืน เมื่อประสูตรแล้ว พระโอรสเดินได้ 7 ก้าว
ก็มีดอกบัวมารองรับพระบาทไว้
เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงเมื่ออายุได้ 35 พรรษา ก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังจากผนวชได้ 6 ปี โดยปัจจุบันสถานที่นั้นเรียกว่า พุทธคยา และหลังจากตรัสรู้แล้วทรงประกาศพระพุทธศาสนาขึ้น ทรงเผยแพร่หลักธรรมคำสอนไปในที่ต่างๆ ทั่วชมพูทวีปเป็นเวลา 45 ปี พระพุทธศาสนาได้ขยายและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง จนเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทั้ง 3 เหตุการณ์นับว่ามีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งเพราะเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นในวันเดียวกัน แต่ห่างกันหลายสิบปี ไม่เพียงเท่านั้น วันวิสาขบูชายังถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติคือ "วันสำคัญของโลก" (Vesak Day)
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรมเนื่องใน 'วิสาขบูชา' 2564
ข้อมูล : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม