Loading
โทร. 02-807-4500  ต่อ  190,192




 
  ชื่อหลักสูตร  
  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
ชื่อเต็ม
:  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
      :  Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)  
 
ชื่อย่อ
:  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
      :  B.Eng. (Mechanical Engineering)
   เกี่ยวกับหลักสูตร
  จัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล เช่น งานทางด้านวิศวกรรม
ทางความร้อน งานออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล วิศวกรรมยานยนต์ งานวางแผนและควบคุมการผลิต
  เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้พื้นฐานและความพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาต่างๆ นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะทำงานวิจัย รวมถึงนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาชุมชน หรือสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  เพื่อให้เหมาะสมกับการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเครื่องกล และสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
ในปัจจุบัน และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตร คณะวิศวกรรมศาสตร์
  เพื่อสนองความต้องการของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าที่มีศักยภาพให้มีโอกาสศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล
  เพื่อสนองนโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ในสาขาที่มหาวิทยาลัยเอกชนมีความพร้อม
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.)
  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรอง
 โอกาสทางวิชาชีพ
  วิศวกรดูแลระบบในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซ โรงงานผลิตเหล็กเส้น โรงงานสิ่งทอ และโรงงานผลิตรถยนต์
  วิศวกรออกแบบ ติดตั้งระบบปรับอากาศ และระบบท่อในโรงงานและอาคารต่างๆ
  วิศวกรออกแบบระบบด้านความร้อน และการอนุรักษ์พลังงาน
  วิศวกรออกแบบและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลการเกษตร
  อาจารย์ นักวิชาการ และที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชน
  ประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับออกแบบระบบและติดตั้งระบบเครื่องจักรกลให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
  ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
  ค่าใช้จ่ายลงทะเบียนแรกเข้า 3,500 บาท (เป็นส่วนหนึ่งของค่าเทอมโดยประมาณ 30,620 บาท)
(เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น)
  ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรโดยประมาณ 219,020 บาท (เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น)
  มหาวิทยาลัยเน้นเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับสังคม (เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น)
  กองทุนเพื่อการศึกษา
  กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
 
ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555