Loading
โทร. 02-807-4500 ต่อ 190,192
แนะนำสาขาวิชา
|
ข้อมูลหลักสูตร
|
หลักสูตรอื่นๆ
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย
Bachelor of Engineering Program in Safety Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม
: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมความปลอดภัย)
: Bachelor of Engineering (Safety Engineering)
ชื่อย่อ
: วศ.บ. (วิศวกรรมความปลอดภัย)
: B. Eng. (Safety Engineering)
เกี่ยวกับหลักสูตร
จัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมความปลอดภัย ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรม อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และอุตสาหกรรมการบริการต่างๆ
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการตระหนัก ประเมินและควบคุมปัจจัยเสี่ยง
ในสิ่งแวดล้อมการทำงาน รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ปลอดภัย
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำงานได้หลากหลาย หมั่นแสวงหาความรู้ และสามารถปรับตัวได้ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการสื่อสารและปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.)
สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรอง
โอกาสทางวิชาชีพ
วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (Safety Officer, Professional Level) หรือ จป. วิชาชีพ
นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygienist)
นักอาชีวอนามัย (Occupational Health Officer)
พนักงานตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Auditor)
ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย (Safety Officer, Senior Professional Level)
เจ้าหน้าที่ให้บริการตรวจวัดสภาพแวดล้อม (Environmental Sampling Officer)
นักวิชาการหรือนักวิจัย (Academic Scholar or Researcher)
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
ค่าใช้จ่ายลงทะเบียนแรกเข้า 3,500 บาท (เป็นส่วนหนึ่งของค่าเทอมโดยประมาณ 31,220 บาท)
(เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรโดยประมาณ 220,520 บาท
(เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น)
มหาวิทยาลัยเน้นเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับสังคม
(เปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น)
กองทุนเพื่อการศึกษา
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
และ
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555