Loading
โทร. 02-807-4500  ต่อ  190,192




 
  ชื่อหลักสูตร
  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  Doctor of Philosophy Program in Electrical Engineering
  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
 
ชื่อเต็ม
:  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
      :  Doctor of Philosophy (Electrical Engineering)
 
ชื่อย่อ
:  ปร.ด. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
      :  Ph.D. (Electrical Engineering)
  ภาษาที่ใช้
  ภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเอกสารประกอบและหนังสือที่ใช้ ประกอบการสอนอาจเป็นภาษาอังกฤษในบางรายวิชา
  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และความก้าวหน้า ทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อสามารถพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าได้เองภายในประเทศ
  เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ที่สามารถ
นำไปประยุกต์และถ่ายทอดให้กับสังคมได้ โดยผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อให้สามารถบุกเบิกและแสวงหา
ความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ
  เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อ
สังคม
  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  หลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต แบบ 1 (1.1)
  ต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์กำหนด
  หลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต แบบ 2 (2.1)
  ต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) หรือครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (คอ.ม.) ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์กำหนด
ทั้งนี้ วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต แบบ 1 (1.1) และแบบ 2 (2.1) ให้เป็นไปตามประกาศการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  หลักเกณฑ์การคัดเลือก
  วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาเป็นไปตามประกาศการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  ระยะเวลาการศึกษา
  ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
   วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
  วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 21.00 น.
   โอกาสทางวิชาชีพ
  อาจารย์ระดับอุดมศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งในภาครัฐและเอกชน
  วิศวกรและผู้บริหาร
  วิศวกรผู้เชี่ยวชาญทั้งในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
  นักวิจัยและพัฒนาทั้งในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
  ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
  ค่าใช้จ่ายแรกเข้าโดยประมาณ 57,000 บาท
  ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรโดยประมาณ 342,000 บาท
  มหาวิทยาลัยเน้นเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับสังคม
 
ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555