Loading
โทร. 02-807-4500  ต่อ  190, 192




คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)

1. สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม    5. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า                                6. สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการความปลอดภัย
3. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล       
4. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

คณะบริหารธุรกิจ (Faculty of Business Administration)
1. สาขาวิชาการบัญชี                  4. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
2. สาขาวิชาการเงิน                    5. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
3. สาขาวิชาการตลาด

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Faculty of Arts and Sciences)
1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ       3. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law)
1. สาขาวิชานิติศาสตร์



คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อเสริมรากฐานการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และอุตสาหกรรม และเป็นการสอดคล้องต่อกระแสการพัฒนา โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลในการพัฒนาประเทศ สังคม และอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งปัจจุบันการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมมีมากขึ้น ดังนั้นการผลิตบัณฑิตจะต้องมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

โอกาสในการประกอบวิชาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาบัณฑิตสามารถเป็นวิศวกรออกแบบเครื่องจักร วิศวกรออกแบบระบบด้านวิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรออกแบบระบบด้านอากาศยาน วิศวกรออกแบบระบบด้านความร้อนและอนุรักษ์พลังงาน วิศวกรออกแบบและควบคุมระบบไฮดรอลิกส์ นิวแมติกส์ และ PLC วิศวกรซ่อมบำรุงในงานทางเครื่องกล วิศวกรออกแบบระบบวัดคุม และเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เป็นต้น หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว

จุดเด่นของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

เป็นสาขาวิชาที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมทุกประเภทอีกสาขาฯหนึ่ง การเรียนการสอนมุ่งเน้นความรู้ทั้งทางทฤษฎีควบคู่กับการฝึกทางด้านปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์และทำงานจริงได้จากทฤษฎีที่ศึกษามา วิชาที่ศึกษา เช่น การฝึกฝีมือช่าง วัสดุวิศวกรรม การออกแบบเครื่องจักรกล อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล การถ่ายเทความร้อน การทำความเย็นและปรับอากาศ ระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก กลศาสตร์วัสดุ วิศวกรรมโรงจักรต้นกำลัง การสั่นสะเทือนทางกล วิศวกรรมยานยนต์ เป็นต้น

สาขาวิศวกรรมเครื่องกลประกอบไปด้วยคณาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก, โท ที่มีความรู้ มีประสบการณ์สูง และมีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ผู้สำเร็จการศึกษา

มีสิทธิ์ยื่นขอสอบใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ระดับภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากสภาวิศวกร